5 มีนาคม 2556
สนพ. มอบหมาย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศึกษาวิจัยนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ในประเทศ
มาผลิต เป็นก๊าซชีวภาพ
WWW.CHEMWINFO.COM BY KHUN PHICHAI
เผยผลวิจัย มช. พบ
หญ้าเลี้ยงช้างพันธุ์ " เนเปียร์ปากช่อง 1 "
เหมาะนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน
- เนื่องจากผลผลิตสูง และ
- มีิัอัตราผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าอื่น ๆ
หวังให้เป็นวัตถุดิบพลังงานในอนาคต
ที่ผ่านมา สนพ. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำ
" โครงการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพ
จากหญ้าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย "
โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
จำนวน 10.7 ล้านบาท
- เืพื่อศึกษาศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
- และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าเพื่อนำไปใช้เป็น
พลังงานทดแทน
โดย มช. ได้มีการสำรวจข้อมูลและวิัจัยหญ้าจำนวน 20 ชนิดที่มี อยู่ในประเทศ อาทิ
- หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
- หญ้าบาน่า
- หญ้าขน
- หญ้าแฝก เป็นต้น
เพื่อศึกษศักยภาพ และสภาวะ ทีเหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพ
จากการวิจัยพบว่า หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
ซึ่งปัจจุบันนิยมนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ใหญ่ นั้น
- มีผลผลิตต่อไร่สุงสุด โดยมีผลผลิตประมาณ 70-80 ตันน้ำหนักต่อไร่ต่อปี
มากกว่าหญ้าชนิดอื่นเกือบ 7 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่า
- มีอัตราการผลิตก๊าซมีเทนสูงกว่าหญ้าชนิดอื่น
โดย มีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพต่อไร่ต่อปี
ประมาณ 6,860-7,840 ลูกบาศก์เมตร ไบโอมีเทนก๊าซ
- สามารถผลิตเป็นก๊าซ CBG ได้ประมาณ 3,118-3,563 kgCBG ต่อปี
เหมาะสมต่อการนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนมากกว่าหญ้าชนิดอื่นๆ
WWW.CHEMWINFO.COM BY KHUN PHICHAI
นอกจาก สนพ.จะมอบหมายให้ มช. วิจัยหญ้าชนิดต่าง ๆ ทีเหมาะสม
สำหรับนำมาผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว ยังได้มอบหมายให้ มช.ศึกษาและวิจัยนำ
ก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มปศุสัตว์
มาผลิตเป็น ก๊าซไบโอมีเทนอัด (Compressed Biomethane, CBG)
ใช้เป็นทางเลือกทดแทนก๊าซ CNG สำหรับยานยนต์
" ทั้งนี้ จากการวิััจัยพบว่า ก๊าซ CBG ที่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่า
CNG สำหรับยายยนต์ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน
โดยปัจจุบัน มช. ยังได้ทำการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพลังงานก๊าซชีวภาพ
ไปสู่พลังงานทดแทนในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป
เพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ ๆ และเกิดประโยชน์สูงสุด"
ผอ.สนพ. กล่าว
ขอขอบคุณ
ERDI-NAKORNPING NEWSLETTER
ฉบับที่ 4 มกราคม-มีนาคม 2556
WWW.CHEMWINFO.COM BY KHUN PHICHAI