7 พฤษภาคม 2555
รายงานสรุปผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับฟังรายงานข้อเท็จจริง
กรณีก๊าซรั่วในบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด)
วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องสมเจตน์ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้รายงานโดยสรุป ดังนี้
1. เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.
วันที่ 6 พฤษภาคม 2555
แคมป์คนงานซึ่งมีคนงานราว 600 คน ได้กลิ่นคล้ายน้ำยาซักผ้าขาวในพื้นที่บริเวณ
ที่ตั้งของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัล (ประเทศไทย) จำกัด
ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศรีษะ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน
จึงมีการนำส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา
พร้อมทั้งมีการอพยพประชาชนในชุมชนข้างเคียง ประมาณ 300-500 คน ไปยัง
สนามกีฬาบ้านฉางซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย
จนเวลาประมาณ 19.00 น. จึงไม่ได้กลิ่น จึงได้มีการขนย้ายประชาชนกลับสู่ที่พักในเวลาต่อมา
2.ผู้ได้รับผลกระทบ ที่ได้รับการนำส่งเข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
มีจำนวน 138 ราย
และต้องเข้าพักรักษา (admit) 13 ราย
โดยที่เหลื่อ แพทย์ให้กลับบ้านได้ ทั้งนี้
บริษัท ฯ ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่าชดเชย สำหรับผู้ได้รับผลกระทบ และ
เข้ารับการรักษาพยาบาล
3.กนอ. ได้ดำเนินการเผยแพร่ข่าวทางหอกระจายข่าวในพื้นที่ทันทีที่ทราบข้อเท็จจริง
ให้ประชาชนทราบ พร้อมจัดทีมเฝ้าระวังในพื้นที่ร่วมกับผู้นำชุมชน และเครื่อข่าย
ผู้ประกอบการในนิคม ฯ มาบตาพุดตลอดคืนที่ผ่านมา
4.อาศัยอำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535
กนอ. ได้มีหนังสือสั่งให้บริษัท ฯ ระงับการเดินเครื่องจักรในหน่วยผลิตกรดเกลือ
(HCL plant B) ตั้งแต่เวลาประมาณ 20.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2555
และให้ตรวจสอบหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งติตตามตรวจสอบความคืบหน้า
และให้การดูแลช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และ รายงานต่อ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
5.ในปี 2553 ได้เคยเกิดก๊าซรั่วไหลจากบริษัท ฯ เนื่องมาจากถังเก็บคลอรีนเหลว
ของบริษัท ฯ แตกชำรุดและล้มลงถูกถังเก็บสารเคมีประเภทกรด และ
ก่อให้เกิดก๊าซรั่วไหลส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเป็นจำนวนมาก
และในครั้งนั้น ได้กำหนดให้บริษัท ฯ
ติดตั้ง Gas Detector บริเวณริมรั้วโรงงาน จำนวน 8 จุด
ซึงพบว่า อุปกรณ์ดังกล่าวขัดข้อง ไม่สามารถเชื่อมต่อผลการตรวจวัดเข้ากับ
ระบบข้อมูลของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2555
อ้างอิง : ข้อมูลจากเว็บไซต์ การนิคมแห่งประเทศไทย
อุบัติภัยในกลุ่มมาบตาพุดคอมเพล็กซ์
ข้อมูลและรายงานความคืบหน้า
************************************************
14 พฤษภาคม 2555
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีสารเคมีรั่วไหลในพื้นที่
บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
เมือเวลา ประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2555
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า
* ในระหว่างที่ บริษัท อดิตยา ฯ ได้ดำเนินการ shut down
ที่หน่วยผลิต B ได้มีกลิ่นคลอรีนเกิดขึ้น
* บริษัท ฯ ได้ทำการฉีดม่านน้ำเพื่อป้องกันกลิ่นคลอรีน
ออกนอกโรงงาน และดำเนินการตรวจสอบ หาต้นกำเนิดกลิ่น
* ซึ่งเบื้องต้นพบว่า เกิดความผิดปกติที่วาล์วควบคุมการจ่ายคลอรีน
เข้าสู่หน่วยผลิตกรดไฮโดรคลอริก จึงหยุดระบบการทำงานทั้งหมดทันที
อ้างอิง : ข้อมูลจากเว็บไซต์ การนิคมแห่งประเทศไทย
อุบัติภัยในกลุ่มมาบตาพุดคอมเพล็กซ์
ข่าวความเคลือนไหว
หัวข้อข่าว : กนอ.แรงเหตุระเบิดในพื้นทีโรงงานบีเอสที ฯ
ไม่กระทบการผลิตโรงงานข้างเคียง
************************************************
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
(About Aditya Birla Chemicals (Thailand), ABCTL )
* เป็นบริษัทในเครือ Aditya Birla Group ประเทศอินเดีย
* เกิดจากการควบรวม (merger) กันของบริษัทจำนวน 4 บริษัท
ในปี 2549 (2006) ได้แก่
1.Thai Organic Chemicals Company (TOCC)
2.Thai Epoxy and Allied Products Company (TEC)
3.Thai Polyphoshate & Chemicals Company (TPC)
4.Thai Sulphites & Chemicals Company (TSC)
* ABCTL ดำเนินธุรกิจ ผลิตสินค้าเคมีภัณฑ์ 5 หมวด ได้แก่
1. Chlor-alkali
2. Epichlorohydrin
3. Epoxy resins
4. Phosphates
5. Sulphites
* ABCTL ประกอบด้วยหน่วยธุรกิจ 4 หน่วย ( 4 division)
1. Chlor-alkali and epichlorohydrin division
ที่ตั้ง นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด), ระยอง
ผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิต
( ตันต่อปี)
-โซดาไฟ 50 % ( caustic soda) 161,000
-คลอรีน 99.7 % (chlorine) 71,500
-กรดไฮโดรคลอริก 35 % 72,000
-โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 36,000
(sodium hypochlorite)
- epichlorohydrin 15,000
หมายเหตุ : สารอีพิคลอโรไฮดริน ( epichlorohydrin) ผลิตมาจากคลอรีน
และใช้เป็นวัตถุดิบ (feedstock) สำหรับหน่วยธุรกิจ
Epoxy division ในการผลิต อีพ็อกซี่ เรซิน (epoxy resin)
2.Epoxy division
ที่ตั้งโรงงาน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง
เริ่มการผลิต ปี 2535 (1992)
ผลิตภัณฑ์ อีพ็อกซี่ เรซิน (epoxy resin)
กำลังการผลิต 80,000 ตันต่อปี
3.Sulphites division
ที่ตั้งโรงงาน จังหวัดสระบุรี
เริ่มการผลิต ปี 2538 (1995)
ผลิตภัณฑ์ 1.sodium sulphite
2.sodium metabisulphite
3.sodium bisulphite
กำลังการผลิต 87,000 ตันต่อปี
4.Phosphates division
ที่ตั้งโรงงาน จังหวัดสมุทรปราการ
เริ่มการผลิต ปี 2527 (1984)
ผลิตภัณฑ์ 1.blended phosphates
2.sodium hexametaphosphate
3.sodium acid pyrophosphate
4.monosodium phosphate
5.disodium phosphate
6.trisodium phosphate
กำลังการผลิต 85,000 ตันต่อปี
* บริษัทในเครือ Aditya Birla Group ในประเทศไทย ได้แก่
1. Thai Rayon
2. Thai Carbon Black
3. Indo Thai Synthetics
4. Thai Acrylic Fibre
5. Thai Peroxide
6. Aditya Birla Chemicals (Thailand)